การประหยัดพลังงานโดยการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเผาไหม้ (combustion efficiency analysis)

ในการวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพการเผาไหม้ จะใช้เครื่องวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพการเผาไหม้ (combustion efficiency analyzer) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้ตรวจสอบว่าแก๊ซที่ปล่อยออกมาว่ามีประสิทธิภาพการเผาไหม้มากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถวัดได้ออกมาในรูปของตัวเลข และนอกจากจะบอกค่าประสิทธิภาพการเผาไหม้แล้ว ยังบอกค่าอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น %O2, %CO, %CO2 เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถปรับตั้งประสิทธิภาพของburnerได้ โดย ถ้า %O2 มากเกินไป หมายถึงการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมาก หรือ ถ้า %CO, %CO2 มากเกินไป ก็จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ส่วนใหญ่เครื่องวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพการเผาไหม้นี้ จะใช้ในการวัดประสิทธิภาพของหม้อไอน้ำ (Boiler) และเตาเผา/เตาอบ (Furnace)

Paper Core Machine

Paper Core Machine

เป็นโอกาสดีที่เราได้มีโอกาสตอบแทนลูกค้าผู้มีอุปการะคุณด้วยสินค้าคุณภาพที่เราบังเอิญไปพบเข้า  และคงไม่ได้มีบ่อยที่จะได้ของคุณภาพนี้ในราคาสุดประหยัด ที่ท่านเห็นนี้คือเครื่องทำแกนกระดาษ ตั้งแต่ 253 ถึง 258 สำหรับ slitting machine. เครื่องนี้ทำความเร็วอยู่ที่ 120m/min. และยังสามารถปรับจูนใหทำได้ถึง 300m/min. อีกวิดีโอคือเครื่องทำแกนกระดาษเช่นกัน  แต่เป็น Servo Machine วิ่งตั้งแต่ 259 ถึง 264 สำหรับกระดาษทิชชู่ที่่ใช้แกน 40mm  ในวิด๊โ อจะเห็นว่าเครื่องจักรทำความเร็วอยู่ที่ 30m/min แต่ความสามารถจริงๆคือ 50m/min. หากท่านผลิตกล่องกระดาษ กล่องลูกฟูก หรืออยู่ในอุตสาหกรรมกระดาษ หรือพลาสติกฟิล์มอยู๋และและสนใจเครื่องจักรสำหรับทำ Paper Core อยู่ละก็  นี่คือโอกาสอันดี  สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02 030 5852

Tasatec ร่วมออกบูธงานสัมมนาผู้รับผิดชอบพลังงาน

Tasatec ร่วมออกบูธงานสัมมนาผู้รับผิดชอบพลังงาน

Tasatec ร่วมออกบูธงานสัมมนา “โครงการพัฒนาขีดความสามารถผู้รับผิดชอบพลังงานในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพวัสดุเครื่องจักรและอุปกรณ์ในโรงงานและอาคารควบคุม-RefreshPRE” ซึ่งจัดโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน และ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 8 ครั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้ ครั้งที่ วันที่ สถานที่ จังหวัด 1 21 มิถุนายน 2556 โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ กรุงเทพฯ 2 11 กรกฎาคม 2556 โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ กรุงเทพฯ 3 12 กรกฎาคม 2556 โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ กรุงเทพฯ 4 5 สิงหาคม 2556 โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง 5 16 สิงหาคม 2556 โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ ภูเก็ต 6 9 กันยายน 2556 โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ กรุงเทพฯ 7…

อาการของคนโดยทั่วไปเมื่อร่างกายได้รับแก๊สแิอมโมเนียที่เกิดจากการรั่วไหล

อาการของคนโดยทั่วไปเมื่อร่างกายได้รับแก๊สแิอมโมเนียที่เกิดจากการรั่วไหล

เมื่อเกิดแก๊สแอมโมเนียรั่วไหล ที่ระดับเกิน 25 ppm  จะเริ่มเป็นอันตรายกับมนุษย์  แต่มนุษย์ยังไม่สามารถรับรู้กลิ่นได้ ที่ระดับเกิน 50 ppm ร่างกายเริ่มรับรู้ได้ และจะตอบสนองทันทีเมื่อได้รับแก๊สพิษนี้เข้าสู่ร่างกาย   อาการเบื้องต้นทั่วไปที่พบบ่อยคือ อาการจุกเสียด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ขึ้นอยู่กับปริมาณที่สูดดมเข้าไป  การนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลได้ทันท่วงทีจะช่วยให้อาการไม่แย่ลงไปมาก มิฉะนั้นอาจเกิดอาการหมดสติได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือการนำผู้ป่วยออกไปอยู่ในที่โล่ง มีอากาศถ่ายเท  และพยายามระบายอากาศบริเวณนั้นเพื่อให้ปริมาณแอมโมเนียเจือจาง หากเป็นแอมโมเนียเหลว liquid ammonia ให้ดื่มน้ำเข้าไปเยอะๆ เพื่อเจือจางปริมาณแอมโมเนีย  หากอาการรุนแรงถึงขั้นอาเจียร  ให้ผู้ป่วยก้มหัวต่ำกว่าสะโพก เพือไม่ให้เชื้อโรคเข้าปอด  ทั้งนี้ แก๊สแอมโมเนียที่เกิดการรั่วไหลส่วนมากออกจากท่อลำเลียงแก๊ส ที่เดินยึดกับฝาผนังโรงงาน  บริเวณข้อต่อแก๊สแต่ละจุด การหมั่นตรวจสภาพท่อลำเลียง  สภาพท่อ pipework ข้อต่อ joint / gas connection อยู่เป็นประจำ  หรือการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับก๊าซแอมโมเนียก็จะช่วยป้องกันเหตุร้ายได้

การพิจารณาเลือกระบบ CEMs มาติดตั้ง

เมื่อต้องการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำระบบ CEMs มาใช้งาน สิ่งแรกที่อาจทำได้คือ พิจารณาว่าจะนำมาใช้กับก๊าซมลพิษชนิดอะไร ปริมาณการระบายเท่าไร ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกขนาดระบบ CEMs ที่จะติดตั้ง ปัญหาต่อมาคือ ราคาของระบบ CEMs การบริการภายหลังจากผู้ขาย การออกแบบระบบเป็นไปตามมาตรฐานหรือราคาที่ได้ตกลงกันไว้หรือไม่ มีมาตรฐานรองรับจากสถาบันที่เชื่อถือได้หรือรับรองระบบ CEMs ที่จะทำการซื้อขายน่าเชื่อถือได้หรือไม่ และที่สำคัญการเลือกซื้อจากผู้ขายหรือตัวแทนจำหน่วยต้องพิจารณาว่ามีประสบการณ์ในงานและมีมาตรฐานเป็นที่น่าไว้วางใจได้หรือไม่ด้วย จะเห็นได้ว่าหลักการพิจารณาขั้นพื้นฐานทั่วไป ควรมีดังนี้ 1.) ต้องมีระบบการจัดการภายหลังติดตั้งระบบ CEMs 2.) ผู้ขายหรือที่ปรึกษาต้องมีระบบการวางแผนการตรวจสอบบำรุงรักษาหรือการเปลี่ยนอะไหล่อุปกรณ์เสมอ 3.) โรงงานและผู้ขายต้องมีการติดต่อหรือสอบถามสภาพการทำงานของระบบเป็นประจำ 4.) ควรเลือกใช้อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือทุกส่วนจากผู้แทนจำหน่ายรายเดียวกัน เป็นต้น

ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ควบคุมมลพิษ

เรื่อง กําหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน สารตามรายการด้านล่างนี้จะต้องมีการตรวจวัดและควบคุมก่อนที่จะระบายออกจากโรงงาน ๑. ฝุ่นละออง (Total Suspended Particulate)๒. พลวง (Antimony)๓. สารหนู (Arsenic)๔. ทองแดง (Copper)๕. ตะกั่ว (Lead)๖. ปรอท๗. คลอรีน (Chlorine)๘. ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chloride)๙. กรดกํามะถัน (Sulfuric acid)๑๐. ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide)๑๑. คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide)๑๒. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide)๑๓. ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of nitrogen)๑๔. ไซลีน (Xylene)๑๕. ครีซอล (Cresol)  สำหรับปริมาณควบคุมในแต่ละประเภทของโรงงานนั้น ท่านสามารถสอบถามข้อมูลจากเราได้ที่ (66) 2 938 1059

Detection of Gas Leakage วิธีตรวจสอบแก๊สรั่ว

การป้องกันเหตุคลอรีน หรือแก๊สอื่นๆ จากการรั่วที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในระยะที่ผ่านมาสามารถทำได้หลายวิธี โดยส่วนมากแล้วอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะไม่ได้เกิดจากกระบวนการผลิต  แต่ส่วนใหญ่จะเกิดจากการรั่วจากถังเก็บ ซึ่งการรั่วซึมของแก็สที่มีอันตรายต่อคนเช่นนี้สามารถตรวจจับได้ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยหลายแบบ ทาซาเทคมีอุปกรณืตัวจับแก๊สพิษและแก็สที่เป้นอันตรายในอุตสาหกรรมหลายชนิดตั้งแต่  • Ammonia • Arsine • Butane • Chloroethane • Diborane • Ethylene Oxide • Formaldehyde • Hydrogen Bromide • Hydrogen Chloride • Hydrogen Cyanide • Hydrogen Sulfide • Isopropanol • Phosgene • Propane • Various alcohols &solvents • Vinyl Chloride and many more…Common Industrial Chemicals • Butane •…

Automobile Emission Analysis การวิเคราะห์แก๊สจากปริมาณไอเสียของเครื่องยนต์

ปัจจุบัน แก๊สไอเสียที่ออกจากรถยนต์ ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีปริมาณมากที่สุด โดยเฉพาะในเขตที่มีการจราจรหนาแน่น แก๊สไอเสียที่เป็นมลพิษได้แก่ คาร์บอนมอนนอกไซด์ (co) เป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีออกซิเจนไม่เพียงพอขณะเกิดการเผาไหม้ แก๊สชนิดนี้เมื่อถูกดูดซืมเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เลือดขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้สมองและระบบประสาทถูกทำลาย อาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่นาที แก๊สไฮโดรคาร์บอน (HC) ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ จะปนออกมากับแก๊สไอเสีย ไฮโดรคาร์บอนบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้ระคายเคืองต่อ จมูก ตา หลอดลม และปอด ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ และ แก๊ส ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) เกิดจากไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับออกซิเจน อุณหภูมิการเผาไหม้สูงกว่า 1,800 C ทำให้เกิดฝนกรด ทำให้เกิดปัญหา ต่อระบบทางเดินหายใจ   เกณฑ์การควบคุมแก๊สไอเสียที่ออกจากรถยนต์ รถบรรทุกตามมาตรฐานทั่วไปควรเป็นดังนี้ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ CO มีค่าไม่เกิน 1.5%ก๊าซไฮโดรคาร์บอน HC มีค่าไม่เกิน 200 ppm   ทาซาเทคมีเครื่องวัดอัตราการเผาไหม้ที่ตอบสนองเร็วและคลอบคลุมตลอดช่วงการเปลี่ยนแปลงของแก๊สแต่ละชนิด  และในเครื่องตัวเดียวกันนี้ สามารถบวกอุปกรณ์วัดเขม่าเข้าไปได้ซึ่งจะแสดงผลพร้อมกัน   ทาซาเทคยังมีเครื่องมือสำหรับวัดค่าคาร์บอนไดออกไซค์ CO2 ที่ช่วง 0…

เครื่องตรวจสอบคุณภาพข้าว

เครื่องตรวจสอบคุณภาพข้าว

การวัด โปรตีน ความชื้น น้ำมัน ในตัวอย่างจำพวกเม็ด เมล็ดพันธุ์ ทำได้โดยง่ายแล้วในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี NIR ทำให้สามารถวัดค่าต่างๆที่สำคัญ รวมถึงการเก็บรวบรวมผลไว้ในเครื่องพกพาขนาดกระทัดรัด ที่นำไปใช้งานได้ทุกที่ Near-IR whole grain analysis of: Protein – Moisture – Oil in Wheat – Barley – Rice – Corn – Soybean And More! ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันต่อชาวนาและผู้ประกอบการผลผลิตเกี่ยวกับเมล็ดพืช พันธุ์พืช หรือเม็ดถั่ว ต่างต้องปรับตัว และใช้วิธีการต่างๆเข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิต การควบคุมความชื้นให้เหมาะกับสภาพอากาศในแต่ละช่วงของการเพาะปลูก ยังคงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในระหว่างการเพาะปลูก เก็บเกี่ยว ตลอดจนการเก็บรักษา เพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มที่ผลิตภัณฑ์นี้ทำให้ข้อจำกัดของการวัดความชื้นในห้องทดลองที่กินเวลาหมดไป ด้วยความสามารถในการตรวจสอบความชื้นทันทีที่ใส่ตัวอย่างลงไป และยังสามารถพกพาไปได้ในทุกที่Grain Moisture Analyzer นี้เหมาะสำหรับการวัดความชื้นใน ข้าว ข้าวโพด ถั่ว และเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆได้เป็นอย่างดีมีความแม่นยำเทียบเท่าหลักการการอบแห้ง การอบไล่น้ำด้วยตู้อบลมร้อน หรือ ไมโครเวฟ เป็นการใช้หลักการแบบอ้อม…

Green House Gas Monitoring (GHG) การวัดก๊าซเรือนกระจก

Green House Gas Monitoring (GHG) การวัดก๊าซเรือนกระจก

ภายใต้กฎหมายใหม่ที่จะบังคับรายงานก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน 40 CFR Part 98  ผู้ที่ผลิตก๊าซเรือนกระจกต้องปฏิบัติตาม Subpart C และ Subpart II Subpart C นั้นก็คือ การวัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้แล้วรายงานโดยใช้สูตรที่ให้มาถ้าคุณผลิตน้อยกว่า 25,000 ตันต่อปีก็ไม่ต้องรายงาน แต่ส่วนใหญ่จะผลิตเกิน 25,000 ตัน / ปีII Subpart นั้นก็คือ ถ้าคุณผลิต biomethan และถ้าก๊าซมีเทน (CH4) ถูกตรวจจับและทำลายให้หมดโดย Dryer หรือ Flare Stack ก็เพียงแค่การตรวจสอบอัตราการไหลของแหล่ง ไบโอมีเทน (biomethan) และ ก๊าซมีเทน (CH4) การวัด มีเทน CH4 นั้นปัจจุบันมี 2 ทางเลือกด้วยกันคือ1.ติดตั้งระบบวัดการระบายอากาศแบบต่อเนื่อง (CEMS) ที่มีเซนเซอร์สำหรับวัดมีเทน  หรือ 2 ใช้การตรวจสอบมีเทน CH4 สัปดาห์ละครั้ง!ซึ่งแน่นอนคนส่วนใหญ่ก็จะเลือกการตรวจสอบอาทิตย์ละครั้ง ที่มีการลงทุนต่ำกว่า  ค่าการดำเนินการต่ำกว่า  ใช้งานง่ายกว่า  ซึ่งการตรวจมีเทนสอบอาทิตย์ละครั้งนี้ก็สามารถทำได้โดยการเก็บตัวอย่างใส่ถุงบรรจุสัปดาห์ ละครั้งเพื่อนำไปวัดในห้องทดลองมาตรฐาน  หรือ…