Electrochemical VS Zirconia oxygen sensor
ช่วยอธิบายเซนเซอร์เคมี กับ เซนเซอร์ Zirconia หน่อยครับว่า มันต่างกันยังไง
ขออนุญาติอธิบายความแตกต่างระหว่างเซนเซอร์ชนิดเคมี กับเซนเซอร์ชนิด zirconia ดังนี้ครับ
เซนเซอร์เคมี
ข้อดี ทนทาน สามารถเห็นแก๊สที่ติดไฟ แก๊สที่ทำปฏิกริยากับการเผาไหม้ แก็สพิษ ได้โดยเซนเซอร์ยังอ่านค่าออกซิเจน แต่จะสึกหรอเร็วขึ้น ใช้ไฟน้อย
ข้อเสีย เซนเซอร์มีอายุงาน ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าเกิดการสึกหรอมากน้อยแค่ไหน แต่ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 1-2 ปี ตอบสนองช้า ต้องcalibrate อยู่บ่อยๆ ต้องการแก๊สตัวอย่างในปริมาณเยอะ และต่อเนื่อง เพื่อการอ่านค่าที่แม่นยำ
เซนเซอร์ zirconia
ข้อดี ตอบสนองรวดเร็ว ใช้ตัวอย่างน้อยในการอ่านค่า ไม่มีcalibration drift เซนเซอร์ไม่มีการสึกหรอ
ข้อเสีย ทำงานกับแก๊สที่สะอาด หรือแก๊สเฉื่อย มีแก๊สอยู่บางชนิดที่ไม่สามารถเห็นได้ ใช้ไฟฟ้าในการให้ความร้อนกับเซนเซอร์
การcalibrate เซนเซอร์เคมีมีอัตราการสึกหรอ ดังนั้นควรตรวจสอบcalibration โดยจะเลือกใช้ certified gas ก็ได้ หรือ air zero ก็ได้ ส่วนเซนเซอร์ zirconia ไม่มีการสึกหรอ ไม่มีcalibration drift แต่หากต้องการตรวจสอบความแม่นยำของเครื่อง ก็สามารถทำได้เองด้วยการดึงออกซิเจนในบรรยากาศเข้ามาในเครื่องเพื่อเช็คความถูกต้อง
การบำรุงรักษา ไม่มีอะไรต้องใส่ใจในส่วนของเซนเซอร์ที่เลือกใช้ ถ้าเป็นเคมีก็จะสึกหรอไปตามการใช้งานครับ
ลืมข้อสำคัญไปอีกข้อนึงครับ เซนเซอร์เคมีก็ไม่สามารถวัดแก๊สบางชนิดได้เหมือนกันเมื่อวัดที่ค่าต่ำๆ การมีไฮโดรเจน หรือ ไฮโดรคาร์บอนผสมอยู่ในแก๊สที่วัดก็ทำให้เซนเซอร์อ่านผิดพลาดได้ครับ
ป๊าดดดดดด...เทพมากเลยครับพี่ อย่างนี้นี่เอง...แล้วสรุปเนี่ยอะไรมันดีกว่ากันอะ ผมเอาไปวัดในห้องผลิต Nitrogen น่ะ ว่า Oxygen มีเพียงพอต่อคนงานรึป่าว และอยากได้ที่ติดตรงเครื่อง Nitrogen Generator เลย ว่าผลิตออกมาแล้วเหลือ Oxygen สะสมอยู่มากน้อยเพียงใด แล้ว sensor 2 ตัวนี้อะไรมันแพงกว่ากันครับ ..อย่าง chemical cell ใช้ไป1-2ปี ก็ต้องเปลี่ยน อย่างนี้ Long Term ควรใช้ Zirconia ใช่ไหมครับ..........
ขอแชร์ให้คุณ Krit ค่ะ จริงๆแล้ว ใช้ได้ทั้งคู่ค่ะ ถ้านำไปติดเครื่อง Generator สำหรับผลิต Nitrogen ออกมานั้น ดิฉันไม่แน่ใจเรื่องความถี่ในการใช้เครือง Generator ค่ะ ว่ามีการเปิดตลอดวัน หรือเปิดเพียงวันละ1-2ชั้วโมง หรืออย่างไร อย่างนี้ใช้เป็น Electro-Chemical Cell ก็น่าจะ OK นะคะ คาดว่ามันน่าจะคุ้มราคาต่อการใช้งานค่ะ
โดยส่วนตัวใช้ผมแบบ Zirconia อยู่ ค่อนข้างโอเคเลย ราคาสูงกว่า ElectroChemical ก็จริงแต่คุ้มค่าในการลงทุน ตอบสนองไว้ ทนทานต่อการใช้งาน อายุการใช้งานยาวนานหลายปี ไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษามากนัก ถ้าคุณ Krit จะเลือกเซนเซอร์ ก็ควรพิจารณาจากการใช้งาน ความถี่ในการวัด ที่สำคัญงบประมาณที่มีในมือ เพราะคุณคือคนตัดสินใจครับ
ฮ่าๆ โทษทีครับ ไม่ได้แวะเข้ามาเลย ,ผมทำเครื่อง Nitrogen Generator ก็จริง แต่ลูกค้าติดที่งบประมาณแหละครับ ลำพังเครื่องผมเองก็สูงอยู่ประมาณนึงแล้ว พอบวกเจ้าเครื่องนี้เข้าไป(ตามราคาที่เคยพูดคุยกัน) มันก็ทำให้ลูกค้าโอดครวญเล็กน้อย ไงพี่ต้องเข้ามาแจมเพิ่มเติมกับลูกค้า ให้เค้าเห็นความคุ้มค่าเองแล้ว ผมจะซื้อที่ถูกราคากว่านี้ก็มีครับ แต่ผมกลัวลูกค้ามาเหมาว่าผมเอาตอนหลังอีก ไงต้องรบกวนแล้วครับ ผมให้น้องที่ดูแลติดต่อเข้ามานะครับ..
ต้องเรียนอย่างนี้ครัับ งาน N2 generator เป็นงานสะอาดครับ ในที่นี้คือไม่มีแก๊สอื่นปะปนเข้ามาในระบบการวัด ซึ่งเหมาะมากกับการใช้เซนเซอร์ zirconia ครับ วัดออกซิเจนต่ำๆ ในไนโตรเจน และวัดต่อเนื่องตลอดเวลา zirconia ก็จะใช้ได้ระยะยาว ถ้าเป็นเซนเซอร์เคมีก็ต้องคอยเปลี่ยนทุกระยะครับ ราคาต่างกันไม่มากตอนซื้อ แต่ถ้่าเทียบระยะยาวแล้ว zirconia ถูกกว่า chemical มากๆครับ
แล้วเซนเซอร์ที่เป็นเคมี (electrochemical) กับเซนเซอร์ที่เป็น zirconia นั้น ในแง่ของการวัดออกซิเจน (oxygen) ในระดับต่ำๆนั้น อันไหน ดีอย่างไรครับ กวนแอดมินช่วยแนะนำด้วย
เอาแบบง่ายๆ นะครับ
เคมีก็เปรียบเหมือนถ่านไฟฉายครับ แรกๆ อาจจะตอบสนองไว ใช้งานง่าย
แต่พอนานๆ ไป ประจุภายในตัวเริ่มเสื่อม การตอบสนองช้า อ่านค่าเพี้ยน เหมือนถ่านไฟฉายที่สว่างน้อย สว่างช้า บางทีต้องมีเคาะ
ส่วน zirconia คล้ายๆ ปรอทครับ มีหน้าที่อ่านค่าเวลาสัมผัสกับสิ่งที่จะวัด ไม่มีการสึกหรอ จะวัดกี่พันครั้งก็ได้
เพียงแต่เราต้องดูแลรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมครับ
Latest Post: หลักการทำงานของเซ็นเซอร์ NIR ทำงานอย่างไร? Our newest member: gertiecarlin41 Recent Posts Unread Posts Tags
Forum Icons: Forum contains no unread posts Forum contains unread posts
Topic Icons: Not Replied Replied Active Hot Sticky Unapproved Solved Private Closed