ทาซาเทคมีเครื่องวัดอาร์กอนแบบพกพาสำหรับงานเชื่อมรึป่าวครับ?
เราเป็นโรงงานผลิตท่อไอเสียรถยนต์ ต้องการวัดปริมาณอาร์กอนในแก๊สผสมที่ใช้สำหรับเชื่อมอาร์กอน (อาร์กอน 95% ออกซิเจน 5%) รบกวนขอคำแนะนำหน่อยครับ
มีครับ แต่เครื่องวัดก๊าซอาร์กอน Argon (Ar) Analyzer ที่เป็นแบบพกพานั้น ทำให้ดีได้ยาก และไม่ตอบโจทย์การใช้งานครับ เลยไม่เป็นที่นิยม จะเป็นแบบ inline ซะมากกว่า อาศัยคุณสมบัติในการเหนี่ยวนำความร้อนของก๊าซแต่ละชนิดมาวัดความเข้มข้นของก๊าซนั้นๆ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Thermal Conductivity Method ให้ความแม่นยำในการวัดอาร์กอนได้ดี
ถามหน่อยครับว่าผสมแก๊สเอง หรือ ซื้อแก๊สที่ผสมสำเร็จรูปแล้ว มาใช้งานครับ
อ๋อเรามีเครื่อง Mix Gas ผสมเองครับระหว่างออกซิเจนกับอาร์กอน เลยอยากจะเช็คว่าสัดส่วนที่ได้ ถูกต้องหรือเปล่าก่อนเอาไปใช้งาน
ไม่เปลี่ยนเป็นวัดออกซิเจนแทนหล่ะค่ะ ง่ายกว่า ถูกกว่า
ครับ เห็นด้วย เรามีเครื่องมือตรวจวัดค่าปริมาณแก๊สออกซิเจนครอบคลุมทุกการใช้งานครับ
ในกรณีนี้ เราสามารถตรวจวัดค่าได้ทั้ง 2 แบบครับ
1. ตรวจวัดค่าปริมาณอาร์กอนโดยตรง โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าที่ใช้หลักการ Thermal Conductivity ซึ่งจะให้ค่าแม่นยำ แต่มีราคาค่อนข้างสูงและเหมาะกับงานที่เป็นผู้ผลิตแก๊สดังกล่าวมากกว่าครับ
2. ตรวจวัดค่าปริมาณออกซิเจนในอาร์กอนแทน เพื่อลดค่าใช้จ่ายในเครื่องมือตรวจวัด ซึ่งสามารถใช้เซนเซอร์เคมีทั่วไป ตรวจวัดค่าได้ครับ จากนั้นเราก็วิเคราะห์ค่าอาร์กอนที่เหลือในระบบ ซึ่งแบบนี้ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า นิยมแพร่หลายกว่าครับ
ผมว่า เราก็น่าจะดูออกซิเจนน่ะ จะไปดูทำไมอาร์กอน เพราะงานเชื่อมส่วนใหญ่ก็ดูออกซิเจนอยู่แล้ว
ถูกต้องครับ ส่วนใหญ่เราจะใช้หลักการที่ 2 มากกว่าเพราะต้นทุนต่ำแต่ตอบโจทย์ คุ้มค่ากว่า ราคาก็ย่อมเยาว์กว่า ดีกว่าใช้หลักการแรกที่ต้นทุนเกือบล้านบาท ซึ่งน่าจะเหมาะกับผู้ผลิตแก๊สซะมากกว่าครับ
รายละเอียดคร่าวๆ สำหรับหลักการที่ 2 เผื่อไว้สำหรับการพิจารณาครับ
เซนเซอร์ชนิดประจุเคมี ElectroChemical Sensor
ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน นอกจากจะผลิตเซนเซอร์จากเคมีได้โดยเลือกตามช่วงการใช้งานแล้ว ยังสามารถทำให้ช่วงการใช้งานกว้างขึ้น และยังสามารถวัดค่าออกซิเจนต่ำๆถึงระดับ ppb ได้ โดยทางทาซาเทค อินสทรูเม้นท์ ได้ทำเซนเซอร์ออกมาเป็น 4 ช่วงหลักๆดังนี้
Percent Range วัดตั้งแต่ 0.1% - 99%
ppm range วัดตั้งแต่ 0.1ppm - 10,000ppm
ppb range วัดตั้งแต่ 10ppb - 1,000ppm
wide range วัดตั้งแต่ 0.1ppm - 30%
โดยเซนเซอร์ทั้งหมดนี้คลอบคลุมการใช้งานส่วนใหญ่ในปัจจุบัน หากท่านมีการใช้งานในช่วงที่นอกเหนือไปจากนี้ และต้องการเซนเซอร์พิเศษ ก็แจ้งมาที่เจ้าหน้าที่ทาซาเทคโดยตรงตามเบอร์ที่ปรากฏได้ค่ะ
อันนี้คือพกพามั้ยครับ
oxygen analyzer ที่เรานั้น เลือกได้ครับ ว่าจะเอาแบบพกพา หรือ stationary
ข้อดีของเซนเซอร์ชนิดนี้
อายุการใช้งานยาว
ไม่ต้องบำรุงรักษา
สอบเทียบง่ายโดยใช้อากาศ หรือก๊าซมาตรฐาน
ตอบสนองอย่างรวดเร็ว
ไม่มีผลกับการสั่นสะเทือนเล็กน้อย
เมื่อใช้กับงานที่ไม่มีการควบคุมอัตราการไหลที่ดี หรือมีข้อจำกัดด้านการผลิตอื่นๆที่ทำให้แก๊สไหลไม่สม่ำเสมอ ก็ยังสามารถใช้ได้ดี
ตัวเซนเซอร์ที่พูดถึงนี่ เป็นแบบเซนเซอร์เคมีหรือป่าวคับ?
พอดีโรงงานผมเคยใช้เซนเซอร์แบบเคมี แล้วอายุการใช้งานต่ำ ต้องเปลี่ยนเซนเซอร์อยู่บ่อยๆ สิ้นเปลืองงบประมาณ (โดยเฉลี่ยแล้ว เปลี่ยนทุกๆ ปี ครั้งละหลายหมื่นบาทอยู่เหมือนกันนะ T^T)
ครับ โดยปกติอายุการใช้งานของออกซิเจนเซนเซอร์ ควรอยู่ที่ 1-3 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้งานครับ เรารับประกันแบบ Pro-rated warranty ให้ด้วย 2 ปี (รับประกันตามอายุการใช้งาน)
ซึ่งไม่ต้องกังวลเรื่องการใช้งานเลยครับ ถ้าใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีการป้องกันข้อจำกัดบางส่วนที่เครื่องไม่สามารถรับได้
เครื่องเล็กกว่านี้มีมั้ยครับ (ดูจากรูปน่าจะใหญ่พอสมควร คิดว่าน่าจะมีแบบพกพา คล้ายๆ วอสื่อสารประมาณนี้)
เครื่องเราขนาดถือว่าเล็กครับ พกพาได้สบาย
ถ้าเป็นงานติดตั้งที่เครื่องผสมแก๊ส (Gas Mixer) เราสามารถเลือกใช้ Transducer ก็ได้ครับ ซึ่งมันก็คือการวัดออกซิเจนในอาร์กอนเหมือนกัน เพียงแค่ว่าอาจจะไม่มี Option อะไรมาก แต่ก็ยังคงคุณสมบัติเรื่องความแม่นยำและความคงทน ของการใช้งานประเภทงานเชื่อมอาร์กอนได้แบบสบายๆ
Latest Post: หลักการทำงานของเซ็นเซอร์ NIR ทำงานอย่างไร? Our newest member: gertiecarlin41 Recent Posts Unread Posts Tags
Forum Icons: Forum contains no unread posts Forum contains unread posts
Topic Icons: Not Replied Replied Active Hot Sticky Unapproved Solved Private Closed