อยากสอบถามเกี่ยวกับเครื่อง WVTR ทดสอบค่าฟิล์มได้ต่างกัน
อยากทราบว่า พอเรา test ฟิล์มเอง ค่าออกมาค่อนข้างสูงกว่าที่ส่งตรวจค่อนข้างมาก ทั้งๆที่เป็นฟิล์มตัวเดียวกัน เลยอยากทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไรได้บ้างค่ะ
ยกตัวอย่างค่ะ เช่น ถ้าเทสเองค่าจะออกมาประมาณ 0.7กว่าๆ แต่พอส่งเทสอีกที่นึง ค่าออกมาแค่0.01กว่าๆค่ะ
ขอบคุณค่ะ
เรียนคุณ Nini
ในกรณีที่มีความแตกต่างกันมากอย่างนี้ มี 2 อย่างเท่านั้นครับที่เป็นไปได้คือ
1. ค่าที่คุณ Nini วัดได้นั้นถูกต้องแล้ว และค่าที่ส่งทดสอบผิด อาจเป็นที่ความชื้นในฝั่งของ measure gas ไม่มีหรือไม่ไหล เพราะไม่มีการตรวจสอบ หรือว่า Flow ที่ใช้ในการทดสอบต่ำมาก เมื่อนำมาคำณวนเป็นค่า WVTR จึงน้อยมากๆ หรือมีการใส่ตัวอย่างซ้อนกัน 2 ชั้น
2. ค่าที่คุณ Nini วัดได้นั้นผิดจริงๆ ถ้ากรณีคำถามเบื้องต้นคือคุณ Nini ใช้เวลาเท่าไหร่ในการวัด และที่รับทดสอบใช้เวลาเท่าไหร่ในการวัด นี่อาจจะประเมินคร่าวๆได้ว่า ค่าที่ได้นั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ ส่วนปัจจัยที่จะทำให้ค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นก็คือ มีความเสียหายที่ตัวอย่าง แทนที่จะเป็น barrier ให้สำหรับวัด กลับเป็นช่องให้ความชื้นไหลผ่านได้โดยง่าย หรือ เกิดจากการใส่ตัวอย่างไม่ดี ทำให้เกิดรอยรั่วให้อากาศไหลเข้าไปได้
หวัวว่าคงจะเป็นประโยชน์นะครับ
ผ่านมาอ่าน เห็นข้อมูลน่าสนใจมาก และกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่พอดี
ช่วยอธิบายเรื่องความชื้นในฝั่งของ measure gas เพิ่มให้หน่อยได้มั๊ยค่ะว่า มันเกี่ยวกันยังไง
โดยทั่วไปความชื้นในฝั่งของ measure gas สำหรับเครื่อง WVTR สมัยใหม่จะถูกตั้งไว้ที่ 90% RH ครับ ดังนั้นเมื่อเราเอาฟิล์มเข้าไปขวางไว้ใน test chamber ด้านนึงของฟิล์มก็จะเห็นความชื้น 90% ในขณะที่อีกด้านนึงก็จะเห็นความชื้นที่ 0% แล้วเราก็ดูอัตราการซึมผ่านในขณะที่เครื่องควบคุมอัตราการไหลให้คงที่
จุดสำคัญคือ ความชื้นที่ควรมี 90% นั้น ถ้าเกิดมีน้อย หรือไม่มี ก็จะทำให้ค่าที่เราวัดได้ไม่ถูกต้อง
ทั้งนี้ทั้งนั้น ความชื้นในฝั่งของ measure gas นั้นสามารถปรับได้ หากการทดสอบนั้นต้องการจำลองสภาวะที่ต่างออกไป
เท่าที่อ่านมา อย่าง คห.1 ข้อที่ 2 แสดงว่าระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบก็มีผลกับค่าที่ได้หรือครับ? แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าควรจะใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับวัสดุที่ใช้ทดสอบ
นั่นน่ะสิครับ ตกลงเราจะรู้ได้ยังไงว่าควรใช้เวลาทดสอบนานเท่าไหร่ ค่าที่ได้ถึงจะแม่นยำ
เครื่อง WVTR ของอิลลินอยส์ สามารถตั้งค่าการทดสอบได้ถึง 3 แบบครับ
1. หยุดทดสอบเมื่อค่านิ่งหรือมีความเคลื่อนไหวเล็กน้อย ไม่เกินค่า +/- ที่กำหนดไว้ (Stop Band : %)
2. หยุดทดสอบเมื่อครบเวลาตามที่กำหนด (Time Duration : Mins)
3. ทดสอบไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ใช้งาน ต้องการหยุดเมื่อไหร่ก็สั่งหยุดด้วยปุ่ม Stop Test ครับ
ขอบคุณมากๆเลยคร๊าบบบบ...!!!
- มีวิธีการดูแล บำรุงรักษา เครื่อง OTR , WVTR แนะนำยังไงบ้างคะ1 year ago
- มีข้อแนะนำเกี่ยวกับเครื่องวัดอัตราการซึมผ่าน permeation analyzer ที่หยุดใช้งานไปนานมั้ยครับ2 years ago
- OTR และ WVTR สามารถทดสอบกับตัวอย่างที่เป็นกระดาษได้ไหมครับ2 years ago
- ค่าอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ WVTR ของวัสดุที่มีอยู่ในท้องตลาดตอนนี้ มันมีค่าเท่าไหร่บ้างคะ2 years ago
- เครื่อง WVTR จำเป็นต้องลดพื้นที่ทดสอบ (Masking) หรือเปล่าครับ2 years ago
Latest Post: หลักการทำงานของเซ็นเซอร์ NIR ทำงานอย่างไร? Our newest member: gertiecarlin41 Recent Posts Unread Posts Tags
Forum Icons: Forum contains no unread posts Forum contains unread posts
Topic Icons: Not Replied Replied Active Hot Sticky Unapproved Solved Private Closed