Bump Test และ Calibration ใครๆก็ทำได้ Gas Detector Bump Test Calibration

เรามักจะพบคำถามนี้บ่อยมากว่า จำเป็นไหมที่การทำ Bump Test จะต้องให้คนที่มีความรู้เฉพาะทางเป็นคนดำเนินการ คำตอบคือ ไม่จำเป็นค่ะ การทำ Bump Test ใครๆก็สามารถทำได้ เนื่องจากเครื่องตรวจจับก๊าซ (Gas Detector) เป็นเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถใช้งานได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปเลยค่ะ แต่ขอแนะนำว่าควรทำเป็นประจำทุกเดือนนะคะ โดยเฉพาะการใช้งานเกี่ยวกับก๊าซอันตราย ซึ่งมีผลต่อชีวิต เช่น สถานที่ที่มีคนจำนวนมาก หรือเครื่องมือใดก็ตามที่ถูกควบคุมโดยมาตรฐานชีวอนามัย และความปลอดภัย

การทำ Bump Test เกี่ยวข้องกับการรั่วไหลของก๊าซตัวอย่างผ่านเซนเซอร์ (Sensor) เพื่อตรวจสอบว่าเซนเซอร์ (Sensor) ตอบสนองแรงพอที่จะใช้งานระบบตามเงือนไขของการส่งสัญญาณเตือนหรือไม่ หากเครื่องส่งสัญญาณเตือนเมื่อตรวจจับได้ถึงความเข้มข้นของก๊าซได้สูงกว่าจุดที่ตั้งค่าไว้ นั่นแสดงว่าก๊าซมีการรั่วไหลแล้วอย่างแน่นอน หากการทดสอบแสดงผลล้มเหลว หรือเครื่องมือไม่ทำงาน คุณจะต้องทำการสอบเทียบ (Calibration) ใหม่ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบว่าอุปกรณ์มีการชำรุดตรงไหน หรือต้องปรับแต่งอุปกรณ์ยังไงให้สามารถกลับมาใช้งานได้ปกติ Bump Test จะสามารถตรวจสอบว่าเครื่องตรวจจับก๊าซ (Gas Detector) ตอบสนองหรือไม่เท่านั้น ไม่ได้เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของอุปกรณ์ หรือไม่ใช่การสอบเทียบ (Calibration) ความผิดปกติของเครื่องตรวจจับก๊าซ (Gas Detector)ที่พบส่วนใหญ่จะพบได้เมื่อสอบเทียบ และการทำ Bump Test นั่นหมายความว่าในบางจุดระหว่างการทดสอบเครื่องอาจจะมีปัญหา

Bump Test เป็นโปรแกรมเพื่อบำรุงรักษาเครื่องมือ และ เซนเซอร์ (Sensor)ให้มีประสิทธิภาพ โดยอย่างน้อยที่สุดเครื่องที่ติดตั้งที่ลานจอดรถชั้นใต้ดิน และเครื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำความเย็น เช่น สระว่ายน้ำ (chlorine), หรือสนามกีฬา (ammonia) ควรทำการสอบเทียบที่เป็นไปตามมาตรฐานชีวอนามัยและความปลอดภัย คือต้องสอบเทียบทุกๆ 6 เดือน หรือตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ

ต้องทำการสอบเทียบ (Calibration) บ่อยแค่ไหน?

ต้องทำการสอบเทียบบ่อยแค่ไหน? เป็นคำถามยอดฮิตเลยสำหรับการใช้งานของเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับเครื่องตรวจจับก๊าซ (Gas Detector) การสอบเทียบนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ประเภทของระบบ, วิธีการใช้งาน, ความแม่นยำที่ต้องการจากการใช้ระบบ, คำแนะนำของผู้ผลิต กฎหมายและข้อบังคับด้านสุขภาพและความปลอดภัย เป็นต้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเครื่องมือวัดอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน

ขั้นตอนการสอบเทียบ (Calibration) จะใช้ความเข้มข้นของก๊าซโดยเฉพาะเพื่อกำหนดค่าที่ตรวจจับจะใช้เพื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของก๊าซที่รั่วไหลออกไปจากการที่มีรอยรั่ว หากความเข้มข้นของก๊าซสูงกว่าที่กำหนดไว้หลังจากสอบเทียบ (Calibration) แล้ว การส่งสัญญานแจ้งเตือนจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเครื่องมือ และการกำหนดค่าเซนเซอร์ (Sensor) การสอบเทียบ (Calibration) เครื่องตรวจจับก๊าซ (Gas Detector)ใช้เวลานาน และใช้ความเข้มข้นของก๊าซมากกว่าการทำ Bump Test อย่างไรก็ตามการสอบเทียบกับมาตรฐานก๊าซ เป็นวิธีการสอบเทียบเพื่อจะทำให้ทราบว่าเครื่องตรวจจับการตอบสนองต่อก๊าซที่ต้องการตรวจจับอย่างถูกต้องหรือไม่

ควรเก็บบันทึกการบำรุงรักษา

การเก็บรักษาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับผลการสอบเทียบและการทำ Bump Test เครื่องตรวจจับก๊าซ (Gas Detector) รวมถึงการปรับแต่งสำหรับการเลื่อนการสอบเทียบและการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมใดๆ ที่ดำเนินการจะให้ประวัติสำหรับอ้างอิงว่าเครื่องตรวจจับทำงานอย่างไร

หากลูกค้าสนใจเกี่ยวกับสินค้าเครื่องตรวจจับก๊าซ (Gas Detector), Bump Test, และการสอบเทียบ(Calibration) สามารถติดต่อได้ที่นี่เลยค่ะ

Girl in a jacket