Air pollution from car exhaust 

ยวดยานพาหนะต่าง ๆ ที่แล่นไปด้วยพลังงานการเผาไหม้ของน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลในเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน รถมอเตอร์ไซด์ รถสามล้อเครื่อง เรือ จะปล่อยสารพิษ  ไอควัน  ก๊าซต่าง ๆ หลายชนิดออกมาทางท่อไอเสีย สู่อากาศในอัตราสูงเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ เป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดอากาศเสียอันสำคัญและควบคุมแก้ไขได้ยากยิ่ง

 โดยสิ่งที่ออกมาจากท่อไอเสียจะประกอบด้วย ไอเสีย ก๊าซต่าง ๆ ตลอดจนเขม่า

ไอเสียรถยนต์เบนซิน ประกอบด้วย

  • คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)  และคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2)
  • ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon)
  • ไนตริคออกไซด์ (NO2) และไนโตรเจนออกไซด์  (NO4)
  • พวกอัลดิไฮด์ (Aldehyde)
  • ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide)

ไอเสียของรถดีเซล ประกอบด้วย

  • ไอน้ำ (Vapor)
  • คาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) และไนโตรเจนไดอ๊อกไซด์ (N2O)
  • ไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon)
  • ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide)
  • พวกอัลดิไฮด์ (Aldehyde)
  • ออกซิเจน (Oxygen)
  • ไฮโดรเจน (Hydrogen)
  • ไนโตรเจน (Nitrogen)

จะเห็นว่าไอเสียจากรถยนต์มีสารพิษที่เป็นอันตรายหลายชนิด ซึ่งสารพิษในลำดับต้นๆ ก็คือ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์  (Carbon monoxide)

ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์  (Carbon monoxide หรือ CO)

เกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ที่ไม่สมบรูณ์และรถยนต์ปล่อยก๊าซนี้ออกมาทางท่อไอเสีย ก๊าซนี้จะลอยปะปนอยู่ในอากาศจำนวนมาก เมื่อมีการจราจรคับคั่งเมื่อสูดหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในร่างกายแล้ว จะไปแย่งออกซิเจนโดยไปรวมกับเฮโมโกลบิน (Haemogobin) ซึ่งเรียกย่อว่า Hb เป็นสารหนึ่งที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง กลายเป็นคาร์บอกซีเฮโมลโกลบิน (Carboxy haemoglobin) ปกติร่างกายของคนเราต้องการอ๊อกซิเจนจะไปรวมตัวกับเฮโมโกลบินกลายเป็นอ๊อกซีโมโกลบิน (Oxyhaemoglobin) เขียนย่อ ๆ ว่า HbO2 ในเลือดที่มี HbO2  นี้จะถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกายในแหล่งที่มี HbO2 ในเนื้อเยื่อจะได้รับอ๊อกซิเจน  แต่ถ้าหายใจเอา CO เข้าไป CO จะเข้าไปรวมตัวกับเฮโมโกลบินได้เร็วกว่าอ๊อกซิเจน 4 เท่าตัว ถ้าปริมาณของก๊าซ CO น้อย ก็จะทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลย์กับโลหิต และเมื่อหายใจออกก็จะขับก๊าซนี้ออกไป ปกติก๊าซนี้มีอยู่ในอากาศ 25 ส่วน ในอากาศล้านส่วน ถ้าหายใจเข้าไปจะมีก๊าซนี้อยู่ในกระแสโลหิต กลายเป็นคาร์บอกซีเฮโมโกลบิน อยู่เพียง 4%  แต่ถ้าร่างกายมีไม่ถึง 4% ก็จะพยายามดูดเอาก๊าซนี้เข้าไปให้มีถึง 4%  จากการสำรวจพบว่า เมื่อเครื่องยนต์เผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงไป 1 แกลลอน จะมี CO ประมาณ 3 ปอนด์ ออกมาจะทำให้ เกิดก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ที่ทำให้สุขภาพเสื่อมทรุดลง เมื่อสูดเข้าไปบ่อยๆ ย่อมทำให้เกิดพิษภัย คือรู้สึกอึดอัด เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ โลหิตเปลี่ยนรูปแข็งตัวขึ้น ไหลไม่ได้ เซลล์ก็ขาดอ๊อกซิเจน จึงทำให้วิงเวียน อ่อนเพลีย เพราะสมองได้รับออกซิเจนน้อยนั่นเอง จิตใจไม่สบาย อ่อนเพลีย มีอารมณ์ฉุนเฉียว โกรธง่าย แม้ว่าก๊าซนี้จะไม่ทำให้คนเสียชีวิตในทันที แต่นับวันก็จะเพิ่มความสำคัญในด้านเป็นอันตรายมากขึ้น และนับวันก็จะเพิ่มความสำคัญในด้านเป็นอันตรายมากขึ้น เพราะรถยนต์เพิ่มขึ้น การถ่ายเทอากาศไม่ดี ทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มอันตรายหากไม่ได้รับการป้องกันและแก้ไข

ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงในบริเวณที่มีโอกาสในการได้รับก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ เช่น ในบริเวณที่การจราจรติดขัด ลานจอดรถ บริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ซึ่งบริเวณดังกล่าวควรได้รับการเฝ้าระวังเพื่อควบคุมปริมาณ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ไม่ให้เกินค่าที่เป็นอันตราย

หากต้องการวัดปริมาณไอเสีย หรือคุณภาพอากาศโดยรวม และมีระบบคอยแจ้งเตือนเมื่ออากาศอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ติดต่อทาซาเทคได้ที่ 02 938 1059 หรือที่ Line ID: Tasatec ค่ะ

Girl in a jacket