เจลาติน (Gelatin)

การวัดค่าความหวาน และการควบคุมค่าความหวาน BRIX หรือ ส่วนผสม %Solids ในกระบวนการผลิตเจลาติน (Gelatin)

เจลาติน (Gelatin) หลายคนอาจยังไม่ทราบ หรือทราบแล้วว่าทำมาจากอะไร ซึ่งเจลาตินบางชนิดจะสกัดได้จากส่วนของกระดูกหมู โดยกรรมวิธีย่อยด้วยกรด และได้จากหนังและกระดูกวัว ลูกวัว โดยกรรมวิธีย่อยด้วยด่าง

เจลาติน (Gelatin) มีลักษณะเป็นแผ่น ชิ้น เกร็ด หรือผงสีเหลืองอ่อน หรือสีเหลืองอำพัน ละลายได้ในน้ำร้อน ไม่ละลายในน้ำเย็น แต่จะอ่อนนุ่ม พองตัว และอุ้มน้ำได้ 5-10 เท่าของน้ำหนักเดิม ละลายได้ในกรดแอซีติก (acetic acid) ไม่ละลายในอีเทอร์คลอโรฟอร์ม และเอทานอล 98 เปอร์เซ็นต์

brix-solids-in-gelatin

ส่วนใหญ่มักจะใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ผสมในอาหารได้ ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลายชนิด อะทิเช่น ผลิตภัณฑ์นม เบเกอรี่ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ อาหารกระป๋อง อาหารแช่เยือกแข็ง แม้แต่การนำไปประกอบอาหารต่างๆ แต่คงจะดีไม่น้อย หากเราสามารถควบคุมค่าความหวาน (BRIX) หรือสัดส่วน ส่วนผสม ต่างๆ (%solids) ในขณะที่เราทำการผลิตเจลาติน (Gelatin) ได้ เพราะเราน่าจะสามารถลดปริมาณการสูญเสีย และควบคุมการผลิตได้ดีกว่าเดิม จากการที่เราต้องอาศัยการวัดแบบที่ต้องนำตัวอย่างออกไปด้านนอก และใช้เวลานานในการให้ผลลัพธ์

การวัด และควบคุมค่าความหวาน BRIX หรือ ส่วนผสม %Solids ในขณะที่อุณหภูมิสูง ด้วยเครื่องมือแบบที่ต้องนำตัวอย่างออกมาวัด (offline sensor) นอกจากจะใช้เวลานานแล้ว ยังมีความผิดพลาดเนื่องจากอุณหภูมิสินค้าที่แตกต่างกัน ซ้ำยังอาจเกิดอันตรายกับการปฏิบัติงานในการเก็บตัวอย่างอีกด้วย

การวัด ค่าความหวาน BRIX หรือ ส่วนผสม%Solids แบบ online sensor นั้น นอกจากให้ผลการวัดได้ทันทีแล้ว การวัดยังถูกต้องแม่นยำกว่า เพราะเป็นการวัดค่าความหวาน (BRIX) ในสภาวะการผลิตจริง และหากต้องปรับปรุงแก้ไข ก็สามารถดำเนินการได้ทันที


*** สนใจข้อมูลเกี่ยวกับการวัดค่าความหวาน และการควบคุมค่าความหวาน BRIX หรือ ส่วนผสม%Solids ในกระบวนการผลิตเจลาติน (Gelatin) ติดต่อทีมงานทาซาเทคได้ตามช่องทางด้านล่างนี้ค่ะ

Girl in a jacket