การสอบเทียบเครื่องวัดอัตราการซึมผ่านออกซิเจนและความชื้น OTR – WVTR calibration

อีกหนึ่งประเด็นคำถามยอดฮิตที่ถามกันเข้ามามาก ถามกันเข้ามาตลอดเวลา ว่า การสอบเทียบเครื่องต้องทำยังไง และต้องทำบ่อยแค่ไหน วันนี้ Admin จะขอมาให้รายละเอียดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการสอบเทียบเครื่องทดสอบอัตราการซึมผ่านของทั้งออกซิเจน (OTR) และความชื้น (WVTR) กันก่อน เพื่อให้เข้าใจหลักการพื้นฐานและความจำเป็น โดยจะยังไม่ขอลงรายละเอียดในเรื่องของ วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ หรือข้อแตกต่างระหว่างการสอบเทียบ (calibration) แต่ละแบบนะค่ะ

ขอเริ่มต้นที่ สาเหตุของการต้องทำการสอบเทียบก่อน ก่อนอื่นต้องย้ำว่าเครื่องมือวัดทุกชนิดหากเป็น secondary measurement แล้วต้องทำการสอบเทียบ (calibrate) ทั้งนั้นค่ะ การสอบเทียบก็คือการปรับการอ่านค่าของเครื่อง ให้ถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเครื่องวัดที่เป็น secondary measurement ทุกตัว ก็ต้องทำการสอบเทียบเหมือนกันหมด แตกต่างกันที่ความถี่ ความห่าง ของการสอบเทียบเท่านั้น เพราะเครื่องมือหรืออุปกรณ์แต่ละตัวมีการสึกหรอไม่เท่ากัน

OTR – WVTR calibration

สังเกตง่ายๆคือการวัดที่ต้องใช้เซ็นเซอร์และเซ็นเซอร์มีการสึกหรอ อุปกรณ์พวกนี้จำเป็นต้องทำการสอบเทียบทั้งหมด

อีกประเด็นสำคัญที่ถามกันเข้ามาบ่อยก็คือ ความถี่ห่างของการสอบเทียบ มีข้อแนะนำไหมว่า เครื่องวัดอัตราการซึมผ่านออกซิเจนและความชื้น (OTR – WVTR calibration) ควรจะสอบเทียบบ่อยแค่ไหน อันนี้ Admin ต้องเรียนว่า มันขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลัก แต่โดยทั่วไป เราก็จะแนะนำให้ทำปีละครั้ง ไม่ว่าการใช้งานจะเป็นอย่างไร เรื่องความถี่ห่างในการสอบเทียบนี้ มันแปรผันตรงกับอัตราการสึกหรอของเซ็นเซอร์นั่นเอง ถ้าอุปกรณ์ต้องมีการสอบเทียบ (calibrate) หรือ เทียบเคียง (validate) หรือไม่ว่าจะสรรหาคำใดมาเรียกก็แล้วแต่ แปลว่า อุปกรณ์นั้นต้องมีการสึกหรอ (Drift)

#Permeation #calibrate_OTR_WVTR

วันนี้ขอให้ข้อมูลทางด้านความจำเป็นเกี่ยวกับการสอบเทียบ เท่านี้ก่อนส่วนวิธีการสอบเทียบแต่ละแบบ ข้อดี ข้อเสีย Admin จะรวบรวมข้อมูลมาให้ในโอกาสต่อไปนะค่ะ โปรดติดตาม ข่าวประชาสัมพันธ์ของเราได้ตามช่องทางต่างๆด้านล่างนี้

Girl in a jacket