ปัจจุบันมีการผลิตเครื่องตรวจจับก๊าซมากมายในการแจ้งค่าดัชนีคุณภาพอากาศ และแจ้งค่าปริมาณฝุ่น PM 2.5 ทำให้เราทราบสภาพอากาศที่สูงกว่าปกติ และเริ่มส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้ผู้คนลดความเสี่ยงหันมาใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 มากขึ้น แต่นั่นคือแค่การป้องกันเบื้องต้น ยังไม่เพียงพอสำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ควรมีเครื่องมือตรวจจับคุณภาพอากาศ หรือมีเซนเซอร์สำหรับการตรวจจับค่าฝุ่น PM 2.5 ติดตั้งไว้ จะเป็นหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับความปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพพนักงานโดยตรง รวมถึงที่มีการปล่อยควันสู่สภาพชั้นอากาศภายนอก ควรมีเครื่องวัดที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพมากพอ
การผลิตเครื่องมือตรวจจับคุณภาพอากาศ อุปกรณ์เซนเซอร์ติดตั้งมากมาย รวมถึงการวัดค่าฝุ่น PM 2.5 มีทั้งราคาถูกและราคาแพงต่างกันออกไป แต่เรามีวิธีคัดสรรพวกเครื่องมือ และเซนเซอร์ตรวจจับคุณภาพอากาศและค่า PM 2.5 เหล่านี้ได้ยังไง นั่นคือสิ่งที่เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมต้องตระหนักให้ละเอียดมากขึ้น สำหรับเครื่องมือตรวจจับคุณภาพอากาศที่ดีและมีคุณภาพนั้น ควรออกแบบมาสำหรับการจับคุณภาพอากาศเท่านั้น โดยเฉพาะความสามารถในการตรวจจับค่าฝุ่นละออง PM 2.5, PM10 คลอบคลุมการวัดได้ทั้งภายนอกและภายในอาคาร อาจจะมีรุ่นแบบพกพาที่สะดวกต่อการใช้งาน มีการบันทึกข้อมูลสามารถดูได้สดบนจอแสดงผล LCD อุณหภูมิในการทำงานควร 5 ° C ถึง 50 ° C (41 ° F ถึง 122 ° F), อุณหภูมิการเก็บรักษา -20 ° C ถึง 60 ° C (-4 ° F ถึง 140 ° F), ความชื้นในการทำงาน 0 – 99% RH ไม่กลั่นตัว
แต่นั่นคงยังไม่พอ ปัจจัยสำคัญหลักคือเซนเซอร์ควรได้รับการรับรองเป็นไปตามมาตรฐาน CE (Certifications)
CE standards for safety: I.S. EN61010-1:2001 (Ed.2) > มาตรฐาน CE เพื่อความปลอดภัย: สหรัฐอเมริกา EN61010-1: 2001 (Ed.2)
CE standards for emissions: EN 50270:2006 > มาตรฐาน CE สำหรับการปล่อยมลพิษ: EN 50270: 2006
CE standards for immunity: EN 50270:2006 > มาตรฐาน CE ด้านภูมิคุ้มกัน: EN 50270: 2006
แผงวงจรที่เป็นไปตามข้อกำหนด RoHS และมีความทนทาน (ระดับ UL94)
หากต้องการคำแนะนำและคำปรึกษาด้านการติดตั้งเครื่องมือตรวจจับคุณภาพอากาศ และการวัดค่าปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5, PM10 สามารถติดต่อกับทีมทาซาเทคตามข้อมูลด้านล่างนี้ได้ เรายินดีให้บริการค่ะ