ทาซาเทคมีเคล็ดลับการติดตั้งเซนเซอร์ แอมโมเนีย Ammonia (NH3) ให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดมาฝากกัน

หลายคนถามมามากว่า เซนเซอร์ แอมโมเนีย Ammonia (NH3)แต่ละตัวนั้นคลอบคลุมพื้นที่การตรวจจับได้เท่าไหร่ การติดตั้งต้องมีระยะอย่างไร ควรอยู่แนวไหน และควรตั้งสัญญาณการเตือนอย่างไร

นี่เป็นคำถามประจำที่ทีมวิศวกรเทคนิคของเราให้คำแนะนำลูกค้าอยู่ตลอดเวลา จริงอยู่ไม่มีการติดตั้งที่เป็นสูตรสำเร็จตายตัว ขึ้นอยู่กับพื้นที่ สิ่งกีดขวาง ทิศทางลม ฯลฯ แต่วันนี้ เราขอสรุปจากประสพการณ์กว่า 10 ปี มาให้ใช้เป็นแนวทางในเบื้องต้นกันนะครับ
สำหรับแก๊ส แอมโมเนีย Ammonia (NH3) นั้น เซนเซอร์ (Detector) 1 ตัว
- สามารถคลอบคลุมพื้นที่การวัดได้ 280 ตารางเมตรโดยประมาณ
- ตำแหน่งติดตั้งที่เหมาะสมคือ ความสูงระดับเพดาน หรือบนเพดาน
- และควรตั้งสัญญาณเตือนไว้ที่ 50 ppm
ท่านสามารถใช้ข้อมูลนี้เป็นเกณฑ์ทั่วไปได้ เพราะถูกกำหนดมาจากมาตรฐานความปลอดภัยสากล แต่หากจะปรับใช้ให้เข้มงวดยิ่งขึ้น ก็สามารถกำหนดเองได้ครับ