การวัดฝุ่นละออง particulate measure (PM)

ณ. ที่นี้ เราได้คัดลอกข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศ ซึ่งกำลังเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญที่สุดของกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ๆ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งทางตรง และทางอ้อม

 ฝุ่นละอองคือ อนุภาคของแข็งขนาดเล็กที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งเกิดจากวัตถุที่ถูกทุบ ตี บด กระแทก จนแตกออกเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ เมื่อถูกกระแสลมพัดก็จะปลิวกระจายตัวอยู่ในอากาศ และตกลงสู่พื้น ซึ่งเวลาในการตกจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับน้ำหนักของอนุภาคฝุ่น แหล่งกำเนิดของฝุ่นจะแสดงถึงคุณสมบัติความเป็นพิษของฝุ่นด้วย เช่น แอสเบสตอส ตะกั่ว ไฮโดรคาร์บอน กัมมันตรังสี ฝุ่นแบ่งตามขนาดเป็น 2 ส่วน คือ ฝุ่นขนาดใหญ่ และฝุ่นขนาดเล็ก ซึ่งนิยมเรียกว่า PM10 (ฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา) *ไมครอนเป็นหน่วยวัด โดย 10,000 ไมครอน เท่ากับ 1 เซนติเมตร แหล่งที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Natural Particle)     เกิดจากกระแสลมที่พัดผ่านตามธรรมชาติ ทำให้เกิดฝุ่น เช่น ดิน ทราย ละอองน้ำ เขม่าควันจากไฟป่า ฝุ่นเกลือจากทะเล 2. ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์ (Man-made Particle)   2.1 การคมนาคมขนส่ง        รถบรรทุกหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่ทำให้เกิดฝุ่น หรือดินโคลนที่ติดอยู่ที่ล้อรถ ขณะแล่นจะมีฝุ่นตกอยู่บนถนน แล้วกระ           จายตัวอยู่ในอากาศ  ไอเสียจากรถยนต์ เครื่องยนต์ดีเซลปล่อยเขม่า ฝุ่น ควันดำออกมา  ถนนที่สกปรก มีดินทรายตกค้างอยู่           มาก หรือมีกองวัสดุข้างถนนเมื่อรถแล่นจะทำให้เกิดฝุ่นปลิวอยู่ในอากาศ การก่อสร้างถนนใหม่ หรือการปรับปรุงผิวจราจร ทำให้         เกิดฝุ่นมาก ฝุ่นที่เกิดจากยางรถยนต์ และผ้าเบรค   2.2 การก่อสร้าง        การก่อสร้างหลายชนิด มักมีการเปิดหน้าดินก่อนการก่อสร้าง ซึ่งทำให้เกิดฝุ่นได้ง่าย เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง การปรับปรุง               สาธารณูปโภค การก่อสร้างอาคารสูง ทำให้ฝุ่นปูนซีเมนต์ถูกลมพัดออกมาจากอาคาร การรื้อถอน ทำลาย อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง   2.3 โรงงานอุตสาหกรรม        การเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน ฟืน แกลบ เพื่อนำพลังงานไปใช้ในการผลิต กระบวนการผลิตที่มีฝุ่นออกมา เช่น           การปั่นฝ้าย การเจียรโลหะ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การตรวจวัดสารมลพิษการตรวจวัดสารมลพิษอากาศในสถานประกอบการนั้นจะมีวิธีแตกต่างไปจากการการตรวจวัดสารมลพิษอากาศอากาศจากปล่องและวิธีการตรวจวัดในบรรยากาศ  โดยการเก็บตัวอย่างอากาศนั้นจะทำภายในโรงงานซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่คนงานทำงานและได้รับสัมผัสกับสารมลพิษอากาศจริงๆ  เป็นการเก็บตัวอย่างที่เรียกว่า Personal Sampling จะเป็นอากาศที่คนงานหายใจเข้าไป  โดยจะเป็นอากาศ บริเวณระหว่างช่วงอกถึงศีรษะ  เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บตัวอย่างจะเป็นปั้มเก็บตัวอย่าง ขนาดเล็กที่ไว้ดูดอากาศ โดยผ่านกระดาษกรองหรือตัวกลางที่ดูดซับมลพิษได้ โดยติดตั้งปั้มไว้ที่ตัวคนงาน ระยะเวลาเก็บตัวอย่างจะเท่ากับ เวลาที่คนงานปฏิบัติงานคือ 8 ชั่วโมง  จากนั้นจึงนำตัวอย่างอากาศไปวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณสารมลพิษต่อไป โดยวิธีการนี้ใช้อ้างอิงในการเก็บตัวอย่างอากาศและวิธีการวิเคราะห์นั้นอ้างอิงมาจากวิธีการของ NIOSH (The National Institute of Occupational Safety and Health) และ OSHA (Occupational Safety and Health Administration) ของประเทศสหรัฐอเมริกา  • การตรวจวัดฝุ่นในสถานประกอบการ มี 2แบบคือ Total dust NIOSH 0500 และ Respireble Dust  NIOSH 0600• ฝุ่นละอองทุกขนาด (Total Dust) เป็นฝุ่นที่สร้างความรำคาญให้กับผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิต แต่ถ้ามีปริมาณมากก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ • ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมปอดได้ (Respireble Dust) เป็นฝุ่นที่อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจส่วนปลาย เนื่องจากมีขนาดเล็กและมองไม่เห็น• วิเคราะห์หาปริมาณฝุ่นละอองด้วยวิธี Gravimetric Method โดยการชั่งน้ำหนักกระดาษกรองฝุ่นละอองทั้งก่อนและหลังการเก็บตัวอย่าง และหาความแตกต่างของน้ำหนักนั้นมาคำนวณหาปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละออง• การเก็บตัวอย่างฝุ่นละออง ด้วยเครื่องมือเก็บตัวอย่างอากาศชนิด Sampling Pump  อากาศจะถูกดูดผ่านกระดาษกรอง PVC ที่มีรูพรุน 5 ไมครอน ด้วยอัตราระหว่าง 1-2 ลิตรต่อนาที เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง ซึ่งอนุภาคฝุ่นละอองทุกขนาดจะติดอยู่บนกระดาษกรองเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 37 มิลลิเมตร ซึ่งผ่านการชั่งน้ำหนักมาแล้ว จากนั้นนำมาหา ปริมาณฝุ่นละอองโดยวิธีการหาค่าความแตกต่างของน้ำหนักกระดาษกรองระหว่างก่อนและหลังการเก็บตัวอย่าง แล้วคำนวณหาค่าความเข้มข้นเป็นหน่วยน้ำหนักต่อปริมาตร อากาศ • การตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองในบรรยากาศทั่วไป ที่มีขนาดอนุภาคตั้งแต่ 100 ไมครอนลงมา(Suspended Particulate ;TSP) หรือขนาดฝุ่นละอองที่มีขนาดอนุภาคตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา (PM10)ในช่วงระยะเวลาการตรวจวัด 24 ชั่วโมง โดยรายงานค่าความเข้มข้นเป็นหน่วยน้ำหนักต่อปริมาตรอากาศที่สภาวะมาตรฐาน 25 องศา เซลเซียส 760 มิลลิเมตรปรอท• การเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองที่มีขนาดอนุภาคตั้งแต่ 100 ไมครอนลงมา(TSP)โดยใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างชนิด High Volume Air Sampler ตัวอย่างอากาศจะถูกดูดผ่านหัวคัดเลือกขนาดฝุ่น (Size Selective Inlet) แบบ Peak Roof Inlet ด้วยอัตราระหว่าง 40-60 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (1,140-1,698 ลิตรต่อนาที) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (?1ชั่วโมง) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอนุภาคฝุ่นละอองที่มีขนาดอนุภาคตั้งแต่ 100 ไมครอนลงมาจะติดตรึงอยู่บนกระดาษกรองชนิด Glass Fiber Filter ที่มีขนาด 20.3  เซนติเมตร 25.4 เซนติเมตร (8 นิ้ว ?10 นิ้ว) ซึ่งผ่านการชั่งน้ำหนักมาแล้ว จากนั้นนำมาหาปริมาณฝุ่นละอองโดยวิธีการหาค่าความแตกต่างของน้ำหนักกระดาษกรองระหว่างก่อนและหลังการเก็บตัวอย่าง แล้วคำนวณหาค่าความเข้มข้นเป็นหน่วยน้ำหนักต่อปริมาตรอากาศที่สภาวะมาตรฐาน 25 องศาเซลเซียส 760 มิลลิเมตรปรอท• การเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา(PM-10)โดยใช้ High Volume Air Sampler และหัวคัดเลือกขนาดฝุ่นละอองขนาดตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา (Size Selective Inlet) ชักตัวอย่างโดยการสูบอากาศผ่านส่วนหัวคัดเลือกขนาดฝุ่นละออง แล้วผ่านกระดาษกรองด้วยอัตรา 1.132 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (40 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ที่ความสูงของช่องชักตัวอย่าง 1.5 – 6.0 เมตรจากพื้น แล้ววิเคราะห์ปริมาณฝุ่นละอองบนกระดาษกรองด้วยวิธี Pre and Post Weight Difference แล้วจึงคำนวณปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่สภาวะมาตรฐาน (25 องศาเซลเซียส 760 มิลลิเมตรปรอท)
**ตรวจวัดฝุ่นละออง Meth.5**ตรวจวัดความชื้น Meth.4**ตรวจวัด O2/CO2 Meth.3A**ตรวจวัด Flow Meth.2  การตรวจวัดหาความเข้มข้นของฝุ่นละอองในบรรยากาศ (Total Suspended Particulate ;TSP) ในช่วงระยะเวลาการตรวจวัดปกติ 24 ชั่วโมง (+/-1 ชั่วโมง ฝุ่นละอองในบรรยากาศ หมายถึง ฝุ่นละอองที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 100 ไมครอนลงมาที่แขวนลอยอยู่ในบรรยากาศเลือกจุดตรวจวัดที่เหมาะสม แล้วทำการเก็บ ตัวอย่างอากาศโดยใช้เครื่องมือชักตัวอย่างชนิด High Volume Air Sampler ตัวอย่างอากาศจะถูกดูดผ่านหัวคัดเลือกขนาดฝุ่น (Size Selective Inlet) แบบ Peak Roof Inlet ด้วยอัตราเร็วในช่วง 39-60 ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (1.1 – 1.7 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (+/-1 ชั่วโมง) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอนุภาคฝุ่นละอองใน บรรยากาศจะติดตรึงอยู่บนกระดาษกรองชนิด Glass Fiber Filter ที่มีขนาด 20.3 เซนติเมตร × 25.4 เซนติเมตร (8 นิ้ว ×10 นิ้ว) – US.EPA.; Manual Reference Method 40 CFR Part 50 Appendix B, 2003- Tisch Environmental, Inc. Operation Manual of TE-5170 Total Suspended Particulate MFC High Volume Air Sampler.  เก็บตัวอย่างฝุ่นทั้งหมด (Total Dust) ภายในสถานประกอบการโดยการใช้เครื่องเก็บตัวอย่างอากาศ (Air Sampling Pump หรือ Air Sampler) สูบอากาศด้วยอัตราการไหล 1.0 ถึง 2.0 ลิตรต่อนาที จนได้ปริมาตรตัวอย่างอากาศตั้งแต่ 7 ถึง 133 ลิตร ผ่านกระดาษกรองชนิดโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 37 มิลลิเมตร และมี pore size membrane 2 ถึง 5 ไมโครเมตร ที่ผ่านการปรับความชื้นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง และทราบน้ำหนักแล้ว เมื่อเสร็จสิ้นการเก็บตัวอย่างนำกระดาษกรองที่ได้ไป ปรับความชื้นอีกครั้งในโถหรือตู้ดูดความชื้น เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง นำไปชั่งจนได้น้ำหนักที่คงที่ และนำไปวิเคราะห์หาปริมาณฝุ่นทั้งหมด (Total Dust) โดยใช้วิธี Gravimetric (Filter Weight)

Girl in a jacket