หลักการของการเผาไหม้ (Combustion Theory)

วันนี้เราจะพูดถึงหลักการของการเผาไหม้ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร  และมีปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการเผาไหม้ที่เราควรต้องทราบเอาไว้

combustion throry
CombustionTheory

ถ้าจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆ สั้นๆ ในเรื่องของการเผาไหม้ก็คือ

เชื้อเพลิง + อากาศ = สิ่งที่ได้จากการเผาไหม้ + ความร้อนทีนี้เรามาดูองค์ประกอบต่างๆของความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆในการเผาไหม้กัน  เชื้อเพลิงประเภทของเชื้อเพลิงหลักๆ ที่นิยมนำมาใช้ในการเผาไหม้กัน แยกเป็นประเภทได้ดังนี้  ในรูปของก๊าซ (ก๊าซมีเทน, โพรเพน, LPG, ก๊าซธรรมชาติ)  ในรูปของเหลว (น้ำมันเตา น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด)  ในรูปของแข็ง (ถ่านหิน, ลิกไนต์, ไม้)และในเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ ก็จะมีองค์ประกอบของเชื้อเพลิง ซึ่งแยกตามลักษณะได้ดังนี้ 1. คาร์บอน (เชื้อเพลิงทุกชนิด)2. ไฮโดรเจน (เชื้อเพลิงทุกชนิด)3. น้ำ (ถ่านหิน, ไม้)4. ไนโตรเจน (ถ่านหิน, ไม้)5. ออกซิเจน (ถ่านหิน, ไม้)6. กำมะถัน (ถ่านหิน, น้ำมัน)7. ขี้เถ้า (ถ่านหิน) ค่าความร้อนของเชื้อเพลิง… จุดประสงค์ของการใช้เชื้อเพลิงหลักๆ ก็คือ เราต้องการค่าความร้อนที่สูงเมื่อเกิดปฏิกริยาการเผาไหม้ ซึ่่งก็จะนิยมวัดกันในหน่วย (BTU / LB. หรือ BTU / CFT.) ส่วนเชื้อเพลิงที่ให้ค่าความร้อนน้อยๆก็จะไม่เป็นที่นิยม  อากาศ (AIR) เป็นที่รับทราบกันว่าในอากาศทั่วไปจะมีองค์ประกอบของอากาศ (โดยปริมาตร) ดังนี้1. ออกซิเจน – 20% ถึง 20.9% (ที่จำเป็นสำหรับการเผาไหม้)2. ไนโตรเจน – 78% ถึง 79% (ก๊าซเฉื่อยเสียส่วนใหญ่)3. ความชื้น – 0% ถึง 2% (ขึ้นอยู่กับความชื้นสัมพัธในอากาศ)4. คาร์บอนไดออกไซด์ – 0.03%5. ก๊าซเฉื่อยต่างๆ – ในระดับต่ำมากๆ AVOGADRO’S LAW: กล่าวไว้ว่า “Gases with weights equal to their molecular weights occupy the same volume of space”เราจึงนำหลักการนี้มาใช้กับการเผาไหม้ กล่าวคือ การทำให้แก๊สเปลี่ยนไปเป็นพลังงานมากสุด และหลงเหลือจากเผาไหม้น้อยที่สุดนั่นเอง…

มีอะไรเกิดขึ้นบ้างหลังจากการเผาไหม้

Girl in a jacket