Chemical (Fuel Cell) VS Zirconia
วันนี้เราจะมาพูดถึงข้อดีข้อเสียของออกซิเจนเซ็นเซอร์ ทั้งแบบ เคมี และแบบ zirconia ซึ่งเป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายให้ฟังกัน ส่วนหลักการทำงานของเซ็นเซอร์ทั้ง 2 ชนิดนี้ ท่านผู้สนใจสามารถหาอ่านจากบทความในเพจของทาซาเทคได้โดยการ search ที่มุมบนด้านขวานะครับ
ก่อนอื่น เรามาดูการวิเคราะห์เปรียบเทียบกันระหว่าง เซนเซอร์สำหรับวัดออกซิเจนทั้งสอบแบบ ที่เป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้
Chemical (Fuel Cell) | Zirconia | |
Pros | Robust for field use | Non-Depletion cell |
Tolerate flammable / combustibles / toxic gas | Extremely quick respond | |
Low power consumption | Able to detect oxygen level from small sample | |
Calibration doesn’t drift | ||
ทนทานต่อการใช้งาน | ตอบสนองรวดเร็ว | |
สามารถเห็นแก๊สที่ติดไฟ แก๊สที่ทำปฏิกริยากับการเผาไหม้ แก็สพิษ สารเคมีไวไฟ ได้โดยเซนเซอร์ยังคงอ่านค่าออกซิเจนได้ปกติ | ใช้ปริมาณตัวอย่างน้อยในการอ่านค่า | |
การใช้พลังงานต่ำ | ไม่มีcalibration drift | |
เซนเซอร์ไม่มีการสึกหรอ | ||
Cons | Deplete | There are some interference gases |
If measure in the stream where CO2 is mixed, depletion rate is very high | And unacceptable gases | |
Slow respond | Sensor has to be at certain temperature | |
Required very large volume of sample | ทำงานกับแก๊สที่สะอาด หรือแก๊สเฉื่อย | |
Frequent calibration required | มีแก๊สอยู่บางชนิดที่ไม่สามารถเห็นได้ | |
เซนเซอร์มีอายุงาน ขึ้นอยู่กับการใช้งานว่าเกิดการสึกหรอมากน้อยแค่ไหน แต่ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 1-2 ปี | ใช้ไฟฟ้าในการให้ความร้อนกับเซนเซอร์ | |
ตอบสนองช้า | ||
ต้องcalibrate อยู่บ่อยๆ | ||
ต้องการแก๊สตัวอย่างในปริมาณเยอะ และต่อเนื่อง เพื่อการอ่านค่าที่แม่นยำ | ||
หากวัดในแก๊สที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ผสม อัตราการสึกหรอก็จะสูงมาก |
สำหรับการสอบเทียบ (calibrate) นั้น เซนเซอร์เคมีมีอัตราการสึกหรอ ดังนั้นควรตรวจสอบ calibration ให้บ่อย โดยจะเลือกใช้ certified gas ก็ได้ หรือ air zero ก็ได้ ส่วนเซนเซอร์ zirconia ไม่มีการสึกหรอ ไม่มี calibration drift แต่หากต้องการตรวจสอบความแม่นยำของเครื่อง ก็สามารถทำได้เองด้วยการดึงออกซิเจนในบรรยากาศเข้ามาในเครื่องเพื่อเช็คความถูกต้อง
การบำรุงรักษา ไม่มีอะไรต้องใส่ใจในส่วนของเซนเซอร์ที่เลือกใช้ ถ้าเป็นเคมีก็จะสึกหรอไปตามการใช้งาน
เมื่อทราบข้อดี ข้อเสีย ของเซนเซอร์แต่ละแบบแล้ว เราก็เลือกใช้ตามความต้องการที่เหมาะสมได้ หากต้องการคุยกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องเซนเซอร์วัดออกซิเจน ก็ติดต่อมาตามที่อยู่ด้านล่างนี้เลยนะครับ