น้ำยาลอกเยื่อ Brown Liquor

เมื่อพูดถึง brown liquor หลายหลายคนอาจจะไม่รู้จัก หรือไม่เคยได้ยินมาก่อน  brown liquor นั้นเกิดขึ้นในกระบวนการแยกเยื่อไม้แบบใช้กรดซัลไฟล์ (Sulfite pulp process) ซึ่งก็คือน้ำยาเคมีชนิดหนึ่งซึ่งนำมาใช้ในการแยกแยกเยื่อ กระดาษออกจากชิ้นไม้ 

 sulfite pulp ไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายในอุตสาหกรรมกระดาษบ้านเรา  แต่ก็คงยังใช้ในการผลิตกระดาษที่มีคุณสมบัติพิเศษ  เช่นพวก rayon หรือ cellulose   ต่างจาก kraft pulping (sulfate pulp process) คือความหลากหลายของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ได้มีน้อย  ยกตัวอย่างเช่นไม้สนหรือไม้เนื้อแข็งไม่สามารถนำมาใช้กับ  Sulfite pulp process นี้ได้  แต่ขณะเดียวกันตัวเยื่อที่ได้ ก็จะมีลักษณะใสและสามารถฟอกขาวได้ง่าย  ซึ่งเป็นคุณสมบัติของกระดาษคุณภาพสูง

 กระบวนการลอกเยื่อก็จะเหมือนการลอกเยื่อโดยทั่วไปที่เราคุ้นเคย  โดยนำชิ้นไม้มาแช่ในน้ำยาประมาณ 4 ถึง 14 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ  130 ถึง 160°C จากนั้นเยื่อที่ถูกลอกออกก็จะถูกส่งไปยังถังพักเพื่อรอการทำความสะอาดต่อไป  

Chemical Recovery

สำหรับตัวน้ำยาที่นำมาใช้กับ sulfite pulping process นี้ เราเรียกว่า brown liquor ซึ่งก็คือสีของน้ำยาที่เกิดจากการบวนการนั่นเอง  (เปรียบเทียบกับ black liquor ใน kraft process). โดยหลังจาก washers, น้ำยา weak brown liquor ที่ความเข้มข้นประมาณ 13-15% solids ก็จะถูกส่งผ่านไปยังกระบวนการควบแน่นโดย multiple-effect evaporator จนได้ความเข้มข้นอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ระหว่าง  60 – 65% (heavy brown liquor) และต่อไปยัง recovery boiler เพื่อเผาน้ำยา  โดยสารเคมีที่ได้กลับคืนมาส่วนใหญ่ก็จะเป็นแมกนีเซียม (magnesium)

 โทรปรึกษา ทาซาเทค ที่ 02 030 5852 หรือที่ Line ID: Tasatec เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวัด brown liquor solids

Girl in a jacket